ประกันสุขภาพแบบเด็ก อายุ 30 วัน - 5 ปี เบี้ยประกันถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลแน่นอน
** เงื่อนไขง่ายๆ ทำประกันวันนี้ ไม่ต้องสำรองจ่าย **
- สมัคร ยื่นเอกสาร และชำระเบี้ยประกัน (ชำระโดยเงินสด เช็ค โอนเงินเข้าบัญชีบริษัท หรือบัตรเครดิต ได้หมด)
- ระยะเวลารอคอย 30 วัน ถึงจะเบิกประกันได้ (สำหรับกรณีอุบัติเหตุ เบิกได้ตั้งแต่กรมธรรม์อนุมัติ)
- ยื่นบัตร ไม่ต้องสำรองจ่าย ยกเว้น กลุ่มโรคที่ต้องใช้เวลาตรวจสอบประวัติ (ทางโรงพบายาบดำเนินการประสานงานกับ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต)
- เข้ารักษาด้วยโรคเดิมใช้วงเงินต่อเนื่องหากไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย (หากคนละโรคใช้วงเงินใหม่ตามแบบ)
ประกันสุขภาพเด็ก ประกันสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพเด็ก
!!! เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงเจ็บป่วยบ่อย !!!
- มีสาเหตุจากสภาพอากาศเปลี่ยนบ่อย ติดเชื้อจากที่โรงเรียน หรือจากผู้ปกครอง คนใกล้ชิด
- ประกันสุขภาพเด็ก อายุ 1 เดือน - 5 ปี คุ้มครองค่าใช้จ่าย ADMIT เข้ารักษาที่ รพ.เอกชน ทั่่วประเทศ *
โรคไวรัส RSV ก็ต้องระวัง เด็กป่วยเยอะมากในช่วงนี้ รักษาตามอาการ ณ ปัจจุบัน
ประกันสุขภาพเด็ก เด็กแรกเกิด เด็กเล็ก อายุ 1 เดือน-5 ปี และ 6 ปี -10 ปี ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ไม่ต้องสำรองจ่าย ตามวงเงินคุ้มครองในแบบประกัน
- เน้นความคุ้มครองเด็กเล็กช่วงก่อนเข้าโรงเรียน ที่ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ และเด็กเล็กก่อนเข้าอนุบาล รวมถึงเด็กแรกเกิด
- คุ้มครองโรคยอดฮิต มือ เท้า ปาก และเป็นไข้สูง ตัวร้อน ปอดบวม อาหารเป็นพิษ
- อุบัติเหตุก็คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกด้วย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หกล้มอุบัติเหตุ แผลนิดหน่อยก็เคลมได้
ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชน ต่อครั้งสูงมาก ให้บริษัทประกันเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายแทน ท่านจะหมดกังวลเวลาลูกน้อยเข้าโรงพยาบาลและสบายกระเป๋า ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาท ลูกป่วย ไม่สบายต้องรีบพาไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัย มีประกันสุขภาพเด็กเล็ก ไว้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ค่าแพทย์ เบี้ยประกันสุขภาพไม่แพงเมื่อเทียบกับค่ารักษาพยาบาล ใช้สิทธิ์ร่วมกับโรงพยาบาลในเครือของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตกว่า 520 แห่งทั่วประเทศ
โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องระวังโรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) และคอคซาคีไวรัส (Coxsackievirus) เป็นสาเหตุ มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี พบได้บ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต จะพบมากในช่วงฤดูร้อน ไวรัสจะทำให้มีไข้ เจ็บคอและมีแผลเกิดขึ้นในปากบนฝ่ามือและฝ่าเท้า
โรคอีสุกอีใส เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา-ซอสเตอร์ โดยทั่วไปจะพบอัตราการป่วยได้สูงสุดในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ 0-4 ปี, 10-14 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ เด็กจะมีไข้ต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย และเบื่ออาหารเล็กน้อย จากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือขึ้นหลังจากมีไข้ประมาณ 1-2 วัน
โรคหัด ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหัดคือ “Rubeola” โรคหัดเป็นความเจ็บป่วยเฉียบพลันจากเชื้อไวรัสที่สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ มักพบในเด็กอายุ 2-14 ปี และพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักไม่พบในทารกอายุต่ำกว่า 6-8 เดือน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากมารดาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ผู้ป่วยจะเริ่มต้นด้วยอาการมีไข้สูงตัวร้อนขึ้นมาทันทีทันใด ในระยะแรกจะมีอาการคล้ายโรคหวัด
โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม Flavivirus และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ มักเกิดในช่วงหน้าร้อนที่มียุงเยอะ อาการของโรคคือ มีไข้สูงหลายวัน ปวดศีรษะ ซึม ปัสสาวะน้อย อาจมีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อไข้เลือดออกได้
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ พบมากในเด็กอ่อน เด็กเล็ก เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม อาการที่พบมักมีไข้สูง เด็กกระสับกระส่าย ร้องโยเย ร้องไห้เสียงสูง ไม่ดูดนม อาจมีอาเจียน มีอาการชัก บริเวณกระหม่อมโป่งนูนจากการเพิ่มความดันในสมอง
ไวรัส RSV ในช่วงปลายฝนต้นหนาว หนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในวัยทารกและเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV” ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้
RSV หรือชื่อเต็มๆ ว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ